วิธีใช้งานฟีเจอร์ทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายหลายอัตรา (Advanced withholding tax)

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  เป็นเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะต้องหักออกจากเงินที่จ่ายให้กับผู้รับเงิน ดังนั้นเมื่อมีการจ่ายเงินผู้ที่จ่ายก็จะต้องหักเงินส่วนนี้ไว้ทุกครั้ง และอัตราภาษีก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ค่าใช้จ่ายที่จ่าย เช่น อัตราภาษี ค่าบริการอยู่ที่ 3% หรืออัตราภาษีค่าเช่าอยู่ที่ 5 % แต่ในบางธุรกิจก็มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายมากกว่า 1 อัตราต่อรอบการจ่าย 1 ครั้ง ดังนั้น MDSoft จึงได้มีการพัฒนาฟีเจอร์ Advanced withholding tax ในระบบ MDRental เพื่อให้รองรับการหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายหลายอัตรา และฟีเจอร์นี้ก็จะตอบสนองความต้องการสำหรับธุรกิจที่มีการถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายหลายอัตราด้วยกัน                

 

1ระบบงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

1 การเข้าใช้งานระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

1.1  เมื่อเข้าหน้าแรกเลื่อนลงมาหมวด => การตั้งค่าข้อมูลระบบ >> ข้อมูลหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย

การเข้าใช้งานภาษีหัก ณ ที่จ่าย
การเข้าใช้งานภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาพที่ 1 หน้าการเข้าระบบข้อมูลหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

1.2 การสร้างข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายต่างๆ

 

การสร้างข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่าย
การสร้างข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่าย

1.2.1 คลิกที่ปุ่มสร้างใหม่ เราก็จะเข้าสู่หน้าสร้างข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย

สามารถตั้งค่าได้ดังนี้

แบบฟอร์มภาษีหัก ณ ที่จ่าย
แบบฟอร์มภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 

 

 

รายละเอียดคำอธิบายของหน้าสร้างข้อมูลภาษี

  1. หัวเรื่อง คือกรอกหัวเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย 
  2. จำนวน % คือ ใส่ตัวเลขภาษีหัก ณ ที่จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์
  3. สถานะ คือ เลือกสถานะให้กับข้อมูล
  4. หมายเหตุ คือ ใส่ข้อความที่เป็นคำอธิบายข้อมูลนี้ถ้าไม่มีก็ไม่ใส่ก็ได้

 

เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วเราสามารถบันทึกได้ดังนี้

หน้าสร้างข้อมูลภาษี
หน้าสร้างข้อมูลภาษี

รายละเอียดการอธิบายเรื่องการบันทึก

  1.  ปุ่มบันทึก ที่จะบันทึกข้อมูลแล้วยังคงอยู่ที่หน้านี้เหมือนเดิม
  2.  บันทึก&ปิด เป็นการกดบันทึกและออกไปยังหน้าข้อมูล
  3.  บันทึก&สร้างใหม่ เป็นการบันทึกข้อมูลแล้วยังคงอยู่หน้านี้เหมือนเดิมแต่จะไม่มีข้อมูลที่บันทึกแล้วแสดงออกมา
  4. บันทึกและคัดลอก เป็นการบันทึกข้อมูลแล้วทำการคัดลอกข้อมูลในหน้านี้ไว้
  5.  ปิด เป็นการยกเลิกการบันทึกข้อมูลนี้ และไปการออกจากหน้าบันทึกข้อมูลด้วย

 

เมื่อกดบันทึกแล้วเราก็จะได้ข้อมูลใหม่มา



1.3 การสร้างข้อมูลค่าใช้จ่าย

การสร้างข้อมูลค่าใช้จ่าย
การสร้างข้อมูลค่าใช้จ่าย

1.3.1 คลิกที่เมนู ข้อมูลทั่วไป => ข้อมูลค่าใช้จ่าย

1.3.2 คลิกที่ปุ่มสร้างใหม่ เราก็จะเข้ามาสู่หน้าสร้างข้อมูลผู้ใช้



สามารถตั้งค่าได้ดังนี้

ฟอร์มข้อมูลค่าใช้จ่าย
ฟอร์มข้อมูลค่าใช้จ่าย

รายละเอียดการอธิบาย เรื่องการตั้งค่าข้อมูลค่าใช้จ่าย

1.หัวเรื่อง คือ กรอกชื่อหัวข้อข้อมูล

2.ยอดเงิน คือ จำนวนเงินของค่าใช้จ่ายนั้นๆ

3.คำนวณครั้งแรกครั้งเดียว คือ จะให้คำนวณครั้งแรกครั้งเดียวหรือไม่

4.คำนวณตามรอบ คือ คำนวณตามรอบเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี

5.ใช้งานภาษีมูลค่าเพิ่ม คือให้เปิดการใช้งานภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

6.ใช้งานภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ให้เปิดการใช้งานภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่

7.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ สามารถเลือกการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามค่าใช้จ่าย

  1. คำนวณตามมิเตอร์ คือ จะให้คำนวณตามมิเตอร์หรือไม่

9.สถานะ คือ เลือกสถานะให้กับข้อมูล

10.หมายเหตุ คือ ระบุข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำ

 

1.4 การสร้างข้อมูลค่าใช้จ่ายของข้อมูลการเช่า

 

1.4.1 คลิกที่เมนู ข้อมูลการเช่า => สร้างใหม่

การสร้างข้อมูลการเช่า
การสร้างข้อมูลการเช่า

1.4.2 กรอกรายละเอียดข้อมูลการเช่า

แบบฟอร์มข้อมูลการเช่า
แบบฟอร์มข้อมูลการเช่า

1.4.3  สามารถเพิ่มรายการค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้

การเพิ่มรายการค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
การเพิ่มรายการค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

1.4.4 เมื่อกรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว กดบันทึกและปิด

รายละเอียดคำอธิบายข้อมูลการเช่า
รายละเอียดคำอธิบายข้อมูลการเช่า

รายละเอียดคำอธิบาย

  1. พื้นที่ คือ พื้นที่โซนที่เช่า
  2. ล็อค คือ ล็อคที่ให้เช่า
  3. ลูกค้า คือ ลูกค้าที่มาทำการเช่า
  4. หมวดหมู่สินค้า คือ ประเภทสินค้าที่ลูกค้านำมาขาย
  5. วันที่เริ่มสัญญา คือ วันที่เริ่มต้นสัญญาเช่า
  6. วันที่สิ้นสัญญา คือ วันที่สิ้นสุดสัญญาเช่า
  7. รอบการชำระเงิน คือ งวดชำระเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี
  8. ค่าเช่า คือ ค่าเช่าของล็อคที่เช่า
  9. การดึงค่าเข้าไปใช้ คือ ราคาล่าสุดของล็อคเช่า
  10. เพิ่มรายค่าใช้จ่าย คือ เพิ่มค่ายใช้จ่ายของล็อคเช่า 
  11. ประเภทการใช้ไฟ คือ การใช้ไฟตามมิเตอร์ไฟ
  12. ประเภทการใช้น้ำ คือ การใช้น้ำตามมิเตอร์น้ำ
  13. สถานะ คือ สถานะของล็อคผู้เช่า
  14. ที่อยู่สำหรับจัดส่ง คือ ที่อยู่ของผู้เช่า
  15. รูปแบบสัญญา คือ สัญญาแบบเดียว หรือหลายสัญญา
  16. เลขที่สัญญาเช่า คือ เลขที่สัญญาของผู้เช่า 
  17. แนบไฟล์ คือ การแนบไฟล์เพิ่มเติมของผู้เช่า
  18. หมายเหตุ คือ คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ 

ตัวอย่างฟอร์มข้อมูลการเช่า

 

ตัวอย่างแบบฟอร์มข้อมูลการเช่า
ตัวอย่างแบบฟอร์มข้อมูลการเช่า

1.5 การออกใบแจ้งหนี้ 

1.5.1 คลิกที่เมนู ข้อมูลใบแจ้งหนี้ => สร้างใหม่ 

 

การสร้างข้อมูลใบแจ้งหนี้
การสร้างข้อมูลใบแจ้งหนี้

1.5.2 จะเข้าสู่หน้าฟอร์มใบแจ้งหนี้กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน

แบบฟอร์มข้อมูลใบแจ้งหนี้
แบบฟอร์มข้อมูลใบแจ้งหนี้

21.5.3 เมื่อกรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว กดบันทึก&ปิด

 

รายละเอียดคำอธิบาย

  1. ลูกค้า คือ ลูกค้าที่ทำการเช่าล็อค
  2. ที่อยู่สำหรับการจัดส่ง คือ ที่อยู่สำหรับจัดส่งของผู้เช่า
  3. รอบการชำระเงิน คือ รอบชำระเงินรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี
  4. รอบการเช่า คือ วันที่รอบการเช่า
  5. วันที่ คือ วันที่ระบุบนใบแจ้งหนี้
  6. วันที่ครบกำหนด คือ วันที่ครบกำหนดการชำระเงิน
  7. ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ เปิด-ปิดการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  8. ใช้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ เปิด-ปิดการใช้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย





ตัวอย่างฟอร์มใบแจ้งหนี้

ฟอร์มใบแจ้งหนี้
ฟอร์มใบแจ้งหนี้

จะแสดงใบแจ้งหนี้โดยขึ้นสถานะ รอชำระเงิน



ขึ้นสถานะชำระเงิน
จะขึ้นสถานะชำระเงิน




1.5.4 การเข้าไปพิมพ์ใบแจ้งหนี้

การเข้าพิมพ์ใบแจ้งหนี้
การเข้าพิมพ์ใบแจ้งหนี้

1.5.4.1 คลิกไปที่ เลขที่ใบแจ้งหนี้ ก็จะแสดงรายละเอียด กดพิมพ์ เพื่อพิมพ์เอกสารใบแจ้งหนี้ 

1.6 สร้างข้อมูลชำระเงิน

 

1.6.1 ขั้นตอนการออกใบรับชำระเงิน 

การสร้างข้อมูลชำระเงิน
การสร้างข้อมูลชำระเงิน

1.6.1.1  ให้เลือกข้อมูล => สร้างข้อมูลชำระเงิน

จะแสดงข้อมูลยอดสุทธิ กดดำเนินการ เพื่อทำข้อมูลรับชำระเงิน

ข้อมูลใบชำระเงิน
ข้อมูลใบชำระเงิน

จะแสดงข้อมูลรับชำระเงินขึ้นมาสำหรับพิมพ์ใบเสร็จ

 

                1.6.2 การพิมพ์ใบเสร็จ และ ใบเสร็จแบบย่อ

หลังจากกด ดำเนินการรับชำระเงิน แล้วระบบจะพาเข้าไปหน้า พิมพ์ใบเสร็จ ให้อัตโนมัติ

 

รายละเอียดคำอธิบาย

  1. พิมพ์ใบเสร็จ คือ พิมพ์ใบเสร็จรูปแบบฉบับเต็ม
  2. พิมพ์ใบเสร็จแบบย่อ  คือ พิมพ์ใบเสร็จรูปแบบย่อ ขนาดเล็ก
พิมพ์ใบเสร็จ
การพิมพ์ใบเสร็จ

ตัวอย่างใบเสร็จที่ปริ้นออกจากระบบ






ตัวอย่างใบเสร็จ
ตัวอย่างใบเสร็จ